Influenza virus
ไข้หวัดใหญ่ Influenza virus เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ
เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ
ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ
แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น
การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ
ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน
Family Orthomyxoviridae
Genus: Influenza
ตัวเชื้อมีขนาด 80-120 nm
ลักษณะเป็น filament Types: A, B, and C
การจำแนกชนิดของเชื้ออาศัย antigen ซึ่งอยู่ที่เปลือก(virus envelope) และแกนกลาง ( nucleoprotein )
- Influenza A virus ทำให้เกิดโรคในคน สัตว์ปีก หมู ม้า สัตว์ทะเล แต่สัตว์ป่าจะเป็นพาหะของโรค
- Influenza B virus เกิดโรคเฉพาะในคน
- Influenza C virus ทำให้เกิดโรคในคนและม้า แต่เป็นอย่างไม่หนัก
Type: Influenza A
ไวรัสชนิดนี้จะเป็นสาเหตุของการระบาดในคน การระบาดของไข้หวัดนกทั่วโลกเกิดจากเชื้อตัวนี้ จะมี H antigen อยู่ 15 ชนิดคือ H1-H15 ส่วน N antigen มีอยู่ 9 ชนิดคือ N1-N9 เมื่อเร็วๆนี้เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ H5, H7, and H9
influenza Aจะพบในนกโดยที่นกจะไม่เป็นโรค influenza A ชนิด H5 and H7 จะทำให้เกิดการระบาดในสัตว์เลี้ยง
นอกจากนั้น influenza A ยังทำให้เกิดโรคในม้า หมู ปลาวาฬ แมวน้ำ แมว เสือ
การติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
- ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
- สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
- สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
การระบาดของเชื้อโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดได้แก่ Influenza A virus ซึ่งมีวิธีการระบาดได้สองวิธีคือ
- highly pathogenic avian influenza (HPAI) คือการระบาดชนิดรุนแรงซึ่งทำให้เกิดอัตราการตายสูงเกิดจากเชื้อ H5,H7
- low-pathogenic avian influenza (LPAI) เป็นการระบาดอย่างไม่รุนแรง แต่อาจจะกลายพันธุ์เป็นเชื้อที่ระบาดรุนแรงก็ได้
การระบาดเชื่อว่าเกิดจากนกน้ำ หรือนกที่อพยพจากแหล่งอื่นที่เป็นภาหะของโรคนำเชื้อโรคมาที่ฟาร์ม
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของไวรัส
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A จะมีการกลายพันธุ์อยู่เสมอ และทำให้เกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่เป็นระยะๆ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกมีสองวิธีได้แก่
-antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของไวรัสทำให้เกิดไวรัสพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยเจอจึงไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคนี้ ตัวอย่างการเกิดการกลายพันธุ์ทำให้ในแต่ละปีต้องคิดวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่
- antigenic shift คือการที่เชื้อไวรัสไขหวัดมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรม เมื่อเชื้อนั้นไปติดเชื้อสัตว์ ทำมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเชื้อไวรัสอย่างทันที ทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่คนไม่รู้จักและไม่เคยมีภูมิต่อเชื้อโรค เมื่อเชื้อระบาดเข้าสู่คน คนไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคจึงเกิดการระบาดไปทั่วโลก ดังเคยเกิดมาเมื่อปี 1918ที่ประเทศสเปน การเกิด antigenic shift มักจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว เช่น แมว หมู
อาการของโรค
- ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
- ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้
- ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
- ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
- ไข้สูง 39-40 องศา
- เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
- ไอแห้งๆ ตาแดง
- อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
- สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว อาจจะพบว่ามีการอักเสบของ เยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
- อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ
- ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวายโดยทั่วไปไข้ หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์
ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ 5 วันหลังจากมีอาการ ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จะอาศัยระบาดวิทยาโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด และอาการของ ผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องทำการตรวจดังนี้
- นำเอาเสมหะจากจมูกหรือคอไปเพาะเชื้อไวรัส
- เจาะเลือดผู้ป่วยหาภูมิ 2 ครั้งโดยครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน
- การตรวจหา Antigen
- การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ เช่นหัวใจวาย หรือหายใจวาย มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดบวม ฝีในปอด เชื้ออาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด
- คนท้อง
- คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
- ผู้ป่วยโรคเอดส์
- ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา
การรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้าน วิธีการดูแลมีดังนี้
- ให้นอนพักไม่ควรจะออกกำลังกาย
- ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือดื่มน้ำผลไม้ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกินไปเพราะอาจจะขาดเกลือแร่
- รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลงให้รับประทาน paracetamol ไม่ แนะนำ ให้ aspirinในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Reye syndrome ถ้า ไอมากก็รับประทานยาแก้ไอ แต่ในเด็กเล็กไม่ควรซื้อยารับประทาน
- สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ
อย่าสั่งน้ำมูกแรงๆเพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม
- ในช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธรณะ ลูกบิดประตู
- เวลาไอหรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก
- ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถามที่สาธารณะ
การป้องกัน
- ล้างมือบ่อยๆ
- อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา
- อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย
- เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
การฉีดวัคซีน
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคเอดส์
- หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
- นักเรียนที่อยู่รวมกัน
- ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น