โรคบิดชิเกลล่า (shigellosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียใน Genus Shigella จัดอยู่ใน Family Enterobacteriaceae เป็นแบคทีเรียที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ชนิดแกรมลบ รูปท่อน ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต และไม่สร้างสปอร์
เชื้อชิเกลล่าเป็นแบคทีเรียก่อโรคลำไส้ที่สำคัญ
และรู้จักกันดีมาเป็นเวลานาน
โดยในครั้งแรกเชื้อชิเกลล่าถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่เกิดโรค bacillary diarrhea (dysentery) มาตั้งแต่คริสศตวรรษที่
19 โดยเป็นสาเหตุให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระมีเลือดออก
และไม่มีเลือด โดยปกติมักพบสาเหตุเริ่มมาจากการแพร่ทางน้ำ ส่วนใหญ่พบในอุจจาระ
การติดเชื้อเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่
จำนวนเชื้อที่กินเข้าไปเพียงเล็กน้อยประมาณ 200-1,000 ตัว
ก็สามารถก่อโรคได้ ซึ่งต่างจากเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ
ที่ต้องใช้ปริมาณมากกว่า
เชื้อสามารถเข้าไปแบ่งตัวและสามารถทำลายเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่
เมื่อเซลล์ตายจะทำให้เกิดการอักเสบ เป็นหนอง และเกิดแผลในลำไส้
สาเหตุ
genus shigella ในปัจจุบันนี้
ประกอบด้วย 4 สายพันธ์ คือ subgroup A (shigella
dysenteraie) แบ่งออกเป็น 12 type: , subgroup B (shigella
flexneri)แบ่งออกเป็น 6 type และยังแบ่งย่อยออกเป็น
subserotype 9 subserotype, subgroup C (shigella boydii) แบ่งออกเป็น
18 type และ subgroup D (shigella sonnnei) แบ่งออกเป็น 2 phase สำหรับ subgroup A, B และ C ยังแบ่งต่อไปอีก 40 serotypes โดยเขียนเรียงตามตัวเลขอารบิค ลักษณะจำเพาะของ plasmid มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรค
ระบาดวิทยาของโรค
พบได้ทั่วโลก สองในสามของผู้ป่วยและผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยเฉพาะในระยะที่กำลังหย่านม การเจ็บป่วยในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนพบไม่บ่อยนัก การติดเชื้อภายในบ้านเดียวกันพบได้บ่อยมาก คือพบตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึง 40 การระบาดเกิดได้บ่อยในชุมชนแออัดและสุขาภิบาลไม่ดี เช่น คุก โรงเรียน ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก โรงพยาบาลโรคจิตประสาท ที่พักแรมที่อยู่แออัด เรือเดินทางข้ามประเทศ เขตชุกชุมของโรคนี้มีทั้งในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ผู้ป่วยที่ได้รับรายงานนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยของผู้ป่วยทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ตาม โดยปกติพบว่ามีการติดเชื้อมากกว่า 1 serotype ในชุมชน สามารถพบการติดเชื้อร่วมกับเชื้อตัวอื่น ๆ ที่ก่อโรคในลำไส้ เชื้อที่แยกได้ในประเทศกำลังพัฒนาคือ S. boydii, S. dysenteriae และ S.flexneri ในประเทศพัฒนาแล้ว พบเชื้อ S.sonnei บ่อยมากขณะที่ S.dyserteriae ไม่ค่อยพบ
การติดต่อ
จากการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้เป็นพาหะ อาจเป็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแต่กินเชื้อเข้าไปจำนวน 10-100 ตัว ผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเป็นพวกที่ไม่ทำความสะอาดมือหลังจากถ่ายอุจจาระ การแพร่เชื้อโดยการสัมผัสทางตรงกับสิ่งของต่าง ๆ หรือสัมผัสทางอ้อมกับอาหาร ส่วนการแพร่เชื้อผ่านทางน้ำและอาหารโดย แมลงสาบ และแมลงวัน เกิดขึ้นได้จากสัตว์เหล่านี้นำเชื้อมาปนเปื้อน
ระยะฟักตัว
จากการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้เป็นพาหะ อาจเป็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแต่กินเชื้อเข้าไปจำนวน 10-100 ตัว ผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเป็นพวกที่ไม่ทำความสะอาดมือหลังจากถ่ายอุจจาระ การแพร่เชื้อโดยการสัมผัสทางตรงกับสิ่งของต่าง ๆ หรือสัมผัสทางอ้อมกับอาหาร ส่วนการแพร่เชื้อผ่านทางน้ำและอาหารโดย แมลงสาบ และแมลงวัน เกิดขึ้นได้จากสัตว์เหล่านี้นำเชื้อมาปนเปื้อน
ระยะฟักตัว
1-7 วัน ที่พบบ่อยคือ 1-3
วัน
ระยะติดต่อ
ตั้งแต่ระยะติดเชื้อเฉียบพลันจนกระทั่งไม่พบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งอาจจะนานถึง 4 สัปดาห์หลังการเจ็บป่วย พวกพาหะที่ไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อได้ แต่โอกาสที่เชื้อจะอยู่นานเป็นหลาย ๆ เดือนนั้นมีน้อย
ตั้งแต่ระยะติดเชื้อเฉียบพลันจนกระทั่งไม่พบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งอาจจะนานถึง 4 สัปดาห์หลังการเจ็บป่วย พวกพาหะที่ไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อได้ แต่โอกาสที่เชื้อจะอยู่นานเป็นหลาย ๆ เดือนนั้นมีน้อย
อาการและอาการแสดง
ไข้สูง อาจเกิน 38.50C นำมาก่อน 2-3 วัน เด็กอาจมีอาการชักร่วมด้วยปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ในวันแรกๆ วันต่อมาถ่ายเป็นมูกปนเลือดเหนียวๆ ซึ่งจะแยกมูกเลือดออกจากเนื้ออุจจาระเห็นได้ชัดเจน อาการท้องเดินและถ่ายเป็นมูกเลือดเกิดเนื่องจากเชื้อผ่านเข้าสู่ผนังลำไส้ ไม่ได้เกิดจากท็อกซิน ปวดเบ่ง มีอาการเหมือนถ่ายไม่สุด ถ่ายกระปริดกระปรอย อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน
ไข้สูง อาจเกิน 38.50C นำมาก่อน 2-3 วัน เด็กอาจมีอาการชักร่วมด้วยปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ในวันแรกๆ วันต่อมาถ่ายเป็นมูกปนเลือดเหนียวๆ ซึ่งจะแยกมูกเลือดออกจากเนื้ออุจจาระเห็นได้ชัดเจน อาการท้องเดินและถ่ายเป็นมูกเลือดเกิดเนื่องจากเชื้อผ่านเข้าสู่ผนังลำไส้ ไม่ได้เกิดจากท็อกซิน ปวดเบ่ง มีอาการเหมือนถ่ายไม่สุด ถ่ายกระปริดกระปรอย อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน
ทำได้โดยการแยกเชื้อจากอุจจาระหรือ rectal swab การดำเนินการทางห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้องกับสิ่งส่งตรวจและใช้อาหารเลี้ยงเชื้อหลายๆ ชนิด พบว่าสามารถเพิ่มการแยกเชื้อ Shigella ได้ การติดเชื้อมักเกิดร่วมกับการพบหนองในอุจจาระ
การวินิจฉัยได้แต่แรกมีความสำคัญ
การให้น้ำและสารเกลือแร่เพื่อชดเชย เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุด
ยาปฏิชีวนะช่วยทำให้ระยะเวลาของการป่วยและการพบเชื้อในอุจจาระสั้นลง
และควรเลือกใช้เฉพาะรายเมื่อมีเหตุผลสมควรในแง่ของความรุนแรงของการเจ็บป่วย
หรือเพื่อป้องกันผู้สัมผัส เช่น ในศูนย์รับเลี้ยงเด็กหรือสถาบันต่าง ๆ
ที่มีข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาพบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลาย ๆ ตัวได้บ่อย
ดังนั้นการเลือกใช้ยาสำหรับเชื้อควรอาศัยผล antibiogram ของเชื้อที่แยกได้ หรือใช้ตาม antimicrobial
susceptibility pattern ในท้องถิ่นนั้น และห้ามใช้ยาเพื่อลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
เมื่อเพาะเชื้อจากอุจจาระพบเชื้อ Shigella spp. ยาปฏิชีวนะที่ให้
ในเด็กให้
Norfloxacin 20 มก./กก./วัน นาน 3 วันหรือ
Cotrimoxazole (trimetroprim)10 มก./กก./วัน นาน 5 วัน
Furazolidone 5-8 มก./กก/วัน นาน 5 วัน
ในผู้ใหญ่
Norfloxacin 800 มก.ต่อวัน นาน 3-5 วันหรือ
Ciprofloxacin 1,000 มก.ต่อวัน นาน 3 วัน
Cotrimoxazole160/800 มกวันละ 2 ครั้ง
นาน 3 วัน
การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย
การป้องกันและควบคุมโรค
การป้องกัน
การป้องกัน
1 สุขวิทยาส่วนบุคคลที่ถูกต้อง
2 ล้างมือฟอกสบู่
ภายหลังเข้าห้องน้ำ
3 ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยโรคบิดเข้าทำงานสัมผัสอาหาร
4 ระวังการแพร่เชื้อให้คนอื่น
โดยถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
5 ล้างมือให้สะอาดก่อนเปิบข้าว
และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
6 ควรแยกสำรับอาหารจากคนอื่น
หรือถ้าจำเป็นต้องกินร่วมกับคนอื่น ควรใช้ช้อนกลาง
7 เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว
และเครื่องใช้ส่วนตัว อย่าใช้ปะปนกับคนอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น