Gnathostoma spinigerum
Gnathostomiasis (หรือเรียกว่า Yangtze edema หรือ choko-fushu
ในภาษาญี่ปุ่น, หรือไทยเรียกว่า
โรคพยาธิตัวจี๊ด) เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิตัวกลม มีชื่อว่า Gnathostoma spp.
เป็นโรคที่จัดอยู่ในพวก "cutaneous larva migrans"
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะพยาธิ์ตัวจี๊ดชนิด Gnathostoma
spinigerum เท่านั้น
ทั้งนี้เพราะพยาธิ์ตัวจี๊ดชนิดนี้เป็นตัวก่อโรคที่สำคัญในคนบริเวณแถบเอเชียอาคเนย์
โดยเฉพาะประเทศไทย
พยาธิมีรูปร่างลักษณะ
ตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 1.5-3.0 ซม. มีลักษณะลำตัวกลมยาว หัวคล้ายลูกฟักทองทั้งหัวและตัวของพยาธิพวกนี้จะมีหนามตัวอ่อนของพยาธิในระยะติดต่อ มีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัยแต่มีหนามน้อยกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้มซึ่งฝังตัวอยู่ใน เนื้อของสัตว์พาหะ ส่วนพยาธิที่พบในคนจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ และมีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.9 ซม.
แหล่งระบาดของพยาธิและโรค
ในประเทศไทยมีสัตว์ประมาณ 44 ชนิด ที่ตรวจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรคพยาธิตัวจี๊ดมีหลายชนิด รวมทั้งสุนัขและแมว การสำรวจปลาไหลในเขตจังหวัดภาคกลาง พบว่ามีการกระจายของพยาธิตัวจี๊ดอยู่หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี เป็นต้น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารหมักที่ทำจากปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ อาจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่เช่นกัน
วงจรชีวิตของพยาธิ
ไข่ของพยาธิจะออกมาทางรูที่ติดต่อกับกระเพาะอาหารและออกไปกับอุจจาระของสัตว์เหล่านั้น ไข่จะเจริญและฟักตัวออกมาเป็นพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 1 ในน้ำ เมื่อกุ้งไร ซึ่งเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่หนึ่งมากินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป ตัวออ่นพยาธิจะเจริญเติบโตต่อไปในตัวกุ้งไรต่อไปเป็นพยาธิตัวอ่อน ระยะที่สอง เมื่อพวกสัตว์น้ำจืด เช่น ปลา กบ สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ ซึ่งจัดเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่สองมากินกุ้งไรเข้าไป ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สอง ก็จะเจริญต่อไปเป็นตัวอ่อนพยาธิ ระยะที่สาม ซึ่งระยะนี้ถือเป็นระยะติดต่อ ในตัวสัตว์เหล่านั้น โดยจะอาศัยอยู่ในกล้ามเนื้อและมีซิสท์หุ้มตัวอยู่ เมื่อโฮสท์ธรรมดาเช่น สุนัข แมว มากินเข้าไป ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สามก็จะออกจากซิสท์ ไชผ่านกระเพาะอาหารและผ่านตับอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แล้วในที่สุดจะไปเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ อาศัยอยู่ในบริเวณก้อนทูมของกกระเพาะอาหาร
คนจัดเป็นโฮสท์บังเอิญ (Accidental host) กินเอาโฮสท์กลางลำดับที่สอง (สัตว์น้ำจืดเช่น
ปลา กบ สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่)
เข้าไปโดยบังเอิญ โดยทานอย่างดิบๆสุกๆ เช่น ส้มฟัก ปลาดุกย่าง พยาธิตัวอ่อนลำดับที่สามก็จะออกจากซีสท์
แล้วเดินทางไปตามที่ต่างๆ แต่จะไม่อยู่ที่กระเพาะอาหาร เนื่องจากคนเป็นโฮสท์บังเอิญ
ทำให้ตัวพยาธิตัวอ่อนระยะที่สามไม่เจริญเติบโตต่อไปเป็นพยาธิตัวแก่ และไม่ออกไข่
การติดต่อ
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวจี๊ดนี้ สามารถติดต่อได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยการกินตัวอ่อนระยะติดต่อที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกโดยเฉพาะปลาน้ำจืด หรืออาจติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยไชผ่านทางรก นอกจากนี้ พยาธิยังสามารถใชเข้าทางผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล โดยเฉพาะในคนบางกลุ่มที่ใช้เนื้อสัตว์สดๆ เช่น กบ ปลา พอกแผล เพื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น
อาการและพยาธิสภาพ
ในคนซึ่งเป็นโฮสท์บังเอิญ พยาธิตัวอ่อนระยะที่สามจะไชเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆตามที่ต่างๆ เมื่อเคลื่อนที่ไปอยู่ที่ใดก็ทำให้เกิดมีปฏิกริยาที่ตำแหน่งนั้นๆเมื่อมาอยู่ใต้ผิวหนังจะเห็นได้ชัด คือตรงตำแหน่งที่มีพยาธิจะบวมแดงๆและรอบๆตัวพยาธิจะถูกห้อมล้อมด้วยเม็ดเลือดขวาชนิดอีโอซิโนฟิลเป็นจำนวนมาก เมื่อพยาธิเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งอื่น ตำแหน่งเดิมที่เคยบวมจะค่อยๆยุบ และย้ายไปบวมในตำแหน่งที่พยาธิอยู่ใหม่ พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไปอยู่ได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย เช่น ตา หู ปอดช่องท้อง สมอง ไขสันหลัง ในช่องท้องพยาธิจะทำให้เกิดก้อนทูม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อพังผืด และมีเม็ดเลือดขวาอีโอซิโนฟิลเป็นจำนวนมาก ก้อนทูมนี้จะเปลี่ยนตำแหน่งไปตามพยาธิ ในสมองและไขสันหลังพยาธิจะทำลายเนื้อเยื่อสมองจากการเคลื่อนตัวของพยาธิ และมีปฏิกริยาบวมขึ้นเช่นเดียวกันตรงตำแหน่งนั้น
ลักษณะทางคลีนิค
ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พยาธิจะเดินทางไป ถ้าไปในอวัยวะที่สำคัญๆ ก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก ถ้าอยู่ในที่ไม่สำคัญอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย
ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พยาธิจะเดินทางไป ถ้าไปในอวัยวะที่สำคัญๆ ก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก ถ้าอยู่ในที่ไม่สำคัญอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย
อาการสำคัญที่ผิวหนังคือ
อาการบวมเคลืาอนที่ เช่นบวมที่มือ แล้วค่อยๆไปบวมที่แขน ไหล่ หน้าบวมในแต่ละแห่งเป็นอยู่นานประมาณ 3-10 วัน
ลักษณะการบวมแดงๆ ตึง มีอาการปวดจื๊ด หรือคัน
อาการทางตา พบว่าพยาธิอาจไชมาอยู่ที่บริเวณหนังตาหรือเข้าไปในลูกตา ถ้าอยู่ที่หนังตาจะทำให้ตาบวม อาจบวมมากจนตาปิดได้ แต่ถ้าพยาธิไชเข้าไปในลูกตา เช่นใน anterior chamber, vitreoushumour จะทำให้ลูกตาอักเสบ อาจถึงกับตาบอดได้
อาการในช่องท้อง อาจพบก้อนทูมที่เปลี่ยนที่ได้ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายภาวะปวดท้องเฉียบพลันในท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ
อาการทางปอด ถ้าพยาธิไชเข้าไปในทรวงอก จะมีน้ำหรือลมเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ ทำให้ไอมีเสมหะหรือเลือดปนได้ บางรายอาจไอจนตัวพยาธิหลุดออกมาได้
อาการทางประสาท หากพยาธิไชเข้าไปในสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการอักเสบชนิดที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงในน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ คอแข็ง ปวดเสียวอย่างมากตามเส้นประสาท ง่วง ซึม หมดสติ หรือเป็นอัมพาต อาจถึงตายได้ พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไปในหู ทำให้เกิดอาการปวดหูอย่างมาก และอาจพบพยาธิไชออกมาทางรูหู นอกจากนี้ทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของสตรีก็พบตัวพยาธุ์ได้
การวินิจฉัยโรค
อาการทางตา พบว่าพยาธิอาจไชมาอยู่ที่บริเวณหนังตาหรือเข้าไปในลูกตา ถ้าอยู่ที่หนังตาจะทำให้ตาบวม อาจบวมมากจนตาปิดได้ แต่ถ้าพยาธิไชเข้าไปในลูกตา เช่นใน anterior chamber, vitreoushumour จะทำให้ลูกตาอักเสบ อาจถึงกับตาบอดได้
อาการในช่องท้อง อาจพบก้อนทูมที่เปลี่ยนที่ได้ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายภาวะปวดท้องเฉียบพลันในท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ
อาการทางปอด ถ้าพยาธิไชเข้าไปในทรวงอก จะมีน้ำหรือลมเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ ทำให้ไอมีเสมหะหรือเลือดปนได้ บางรายอาจไอจนตัวพยาธิหลุดออกมาได้
อาการทางประสาท หากพยาธิไชเข้าไปในสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการอักเสบชนิดที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงในน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ คอแข็ง ปวดเสียวอย่างมากตามเส้นประสาท ง่วง ซึม หมดสติ หรือเป็นอัมพาต อาจถึงตายได้ พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไปในหู ทำให้เกิดอาการปวดหูอย่างมาก และอาจพบพยาธิไชออกมาทางรูหู นอกจากนี้ทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของสตรีก็พบตัวพยาธุ์ได้
การวินิจฉัยโรค
- ตรวจดูจากประวัติการรับประทานอาหาร
- ลักษณะอาการทางคลีนิค เช่น การปวดบวมแบบเคลื่อนที่ได้
- การตรวจเลือด มีปริมาณเม็ดเลือดขาว และชนิดอีโอซิโนฟิลสูง
- การทดสอบทางผิวหนัง ให้ผลบวก
- สามารถผ่าพบตัวพยาธิได้จากผิวหนัง ก้อนทูม เป็นต้น
การรักษา
- ลักษณะอาการทางคลีนิค เช่น การปวดบวมแบบเคลื่อนที่ได้
- การตรวจเลือด มีปริมาณเม็ดเลือดขาว และชนิดอีโอซิโนฟิลสูง
- การทดสอบทางผิวหนัง ให้ผลบวก
- สามารถผ่าพบตัวพยาธิได้จากผิวหนัง ก้อนทูม เป็นต้น
การรักษา
ยังไม่มีการรักษาใดๆ ได้ผลดีเท่ากับการผ่าเอาตัวออก โอกาสเช่นตอนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ผิวหนัง
โดยการพ่นบริเวณนั้นด้วย Ethyl chloride ตรงตำแหน่งตัวพยาธิจะช่วยทำให้พยาธิชาหยุดเคลื่อนที่ชั่วคราวทำให้ช่วยในการผ่าเอาตัวพยาธิออกได้ง่ายขึ้นยังไม่มียาที่จะใช้ฆ่าหรือทำลายตัวพยาธิได้
ยาพวกเพรดนิโซโลน ช่วยบรรเทาอาการบวมและคันได้
โอกาสหายขาดก็โดยการผ่าเอาตัวพยาธิออกข้างต้นแล้ว อาจเกิดจากการบังเอิญในช่วงการไอ หรือตัวพยาธิไชออกมาทางรูหู หรือถูกขับออกมากับ ปัสสาวะในกรณีที่ไชมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ หรือเนื่องจากพยาธิตายไปเอง
การป้องกัน
โอกาสหายขาดก็โดยการผ่าเอาตัวพยาธิออกข้างต้นแล้ว อาจเกิดจากการบังเอิญในช่วงการไอ หรือตัวพยาธิไชออกมาทางรูหู หรือถูกขับออกมากับ ปัสสาวะในกรณีที่ไชมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ หรือเนื่องจากพยาธิตายไปเอง
การป้องกัน
- ให้ประชาชนทราบถึงวงจรชีวิตของพยาธิ การติดต่อ และผลร้ายของโรค
- ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆ เช่นพวก ปลา ( ปลาดุก ปลาช่อน) กบ งู ไก่ เป็ด กุ้ง ปู หนู
เป็นต้น
- ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆ เช่นพวก ปลา ( ปลาดุก ปลาช่อน) กบ งู ไก่ เป็ด กุ้ง ปู หนู
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น