วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Photozoa



Leishmania spp.


           โรคลิชมาเนียซีส เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Leishmania spp. ซึ่งอยู่ในจีนัส Leishmania ไฟลัม Sarcomastigophora เป็นเชื้อโปรโตซัวที่อาศัยอยู่ในเซลล์ มีแซ่ 1 อัน โดยพบในเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage พบว่ามี 20 species ที่ก่อโรค จัดเป็น vector-borne protozoan parasite โดยมีริ้นฝอยทราย (sandfly) กว่า 30 ชนิด เป็นแมลงพาหะนำโรค (ในประเทศโลกเก่าคือแมลงในตระกลู Phlebotomus ส่วนในทวีปอเมริกาใต้แมลงนำโรคอยู่ในตระกูล Lutzomyia spp.) มักพบโรคในผู้ป่วยที่มีระบบ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อมี 2 ระยะ คือ Amastigote (Leishmania form) มีขนาด 1.5-3 x 2.5-6.5 μm รูปร่างกลมรี ไม่มี free flagellum จึงไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ พบใน vacuole ของ macrophage และ Promastigote(Leptomonad form) มีขนาด 15-20 x 1.5-3.5 μm มี kinetoplast อยู่ด้านหน้า และมี nucleaus ขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางลำตัวสามารถเคลื่อนที่ได้โดยใช้แซ่พบในริ้นฝอยทราย

การก่อโรค แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
            1) Cutaneous Leishmaniasis (CL) ถือเป็นวิการเริ่มแรกที่พบได้บ่อย โดยจะเกิดเป็นเม็ดและ ตุ่มเล็กตามผิวหนังในบริเวณที่ถูกริ้นฝอยทรายกัดเช่น หน้า มือ และขา อาจพบตุ่มแผลมากถึง 200 เม็ด โดยตุ่มแผลในระยะเริ่มแรกจะเรียกว่า Oriental Sore หรือ Baghdad Boil แผลอาจจะลุกลามเป็นแผล เรื้อรัง และจะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน บางรายอาจจะพัฒนาไปเป็นแบบ visceral form ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Leishmania tropica หรือ L. major


              2) Visceral Leishmaniasis (VL) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า kala azar หรือ dum dum fever (black fever) เกิดการติดเชื้อในอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะที่ไขกระดูก ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และ ตับ (อวัยวะหลังของระบบ RES) เป็นลักษณะที่รุนแรงที่สุดและมีโอกาสเสียชีวิตสูงภายใน 2 ปี หากไม่ได้รับการรักษา ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Leishmania donovani ก่อให้เกิดภาวะเลือดจาก เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ


             3) Mucocutaneous Leishmaniasis (ML) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง แต่จะเกิดแผลลุกลามในอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก ลิ้น เหงือก ทวารหนัก ปากช่องคลอด มักเกิดจากเชื้อ Leishmania braziliensis และ Leishmania Mexicana


ระบาดวิทยา
              จากหลักฐานการบันทึกในยุคอินคา มีรายงานการเกิดโรคนี้ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15-16 ปัจจุบัน พบการระบาดใน 88 ประเทศทั่วโลก พบว่ากว่า 72 ประเทศ เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติ ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน รัสเซีย และจีน พบว่าสุนัขและสุนัขป่าเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ ประเทศในเขตซับซาฮาราของทวีปอาฟิกา มี civest และ สัตว์กินเนื้อขนาดเล็กเป็นแหล่งรังโรค ส่วนในประเทศ อินเดีย และเคนยา พบว่าคนเป็นแหล่งรังโรค กว่า 90% ของการเกิดโรคแบบ VL พบใน 5 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ซูดาน และบราซิล และ 90% ของการเกิดโรคแบบ CL พบในประเทศ อัฟกานิสถาน อัลจีเรีย เปรู อีร่าน ซาอุดิอาราเบีย บราซิล และซีเรีย จากการสำรวจ พบว่าโรคนี้มีความชุกปีละ 12 ล้านคน โดยพบว่าประชากรกว่า 350 ล้านคน อยู่ในความเสี่ยงที่อาจติดโรคนี้ และมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 1,000 คน แนวโน้มของการเกิดโรคในแต่ละปี พบเป็นแบบ CL ปีละ 1-1.5 ล้านคน และแบบ VL ปีละ 0.5 ล้านคน และยังพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคสูงกว่าผู้ชายถึง 1.4เท่ายิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าการเกิดโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับ ระดับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้มีการสัมผัสริ้นฝอยทรายเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การบุกรุกป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การสร้างเขื่อน เป็นต้น ในยุโรปพบมีความเสี่ยงสูงในผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ส่วนในอาฟริกาและอินเดียพบมีความเสี่ยงสูงในผู้อพยพ คนงาน และคนขับรถบรรทุก และยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเอดส์



ประเทศไทยเคยมีรายงานผู้ป่วย Visceral Leishmaniasis (Kala Azar) การเกิดโรคเป็นลักษณะ sporadic case โดยเป็นชาวต่างชาติเข้ามารักษาในประเทศไทยจำนวน 3 ราย ประกอบด้วย ชาวปากีสถาน ชาวอินเดีย และชาวบังคลา เทศ ในปีี 2503, 2520 และ 2527 ตามลำดับ และมีผู้ป่วยที่เป็นคนไทยจำนวน 7 ราย โดย 5 รายแรกได้รายงานเมื่อปี 2528 – 2529 เป็นแรงงานไทยที่มีประวัติเดินทางไปทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของโรค ส่วนอีก 3 รายได้รายงานเมื่อปี 2539, 2548 และ 2549 ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติเดินทางไปทำงานในประเทศที่มีโรคนี้เลย (Autochthonous case) ซึ่งเป็นผู้ป่วยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี น่าน (พบในโค 1 ตัว) และพังงา (พบในแมว 1 ตัว) ตามลำดับ ส่วนในปี 2550 มีรายงานการเกิดโรค 3 ราย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ และสงขลา

แมลงนำโรค
              ริ้นฝอยทรายเป็นแมลงที่นำโรคนี้ มีการค้นพบแล้วกว่า 500 ชนิด แต่มีเพียง 30 ชนิด ที่สามารถเป็นพาหะนำโรคได้โดยพบว่าเฉพาะเพศเมียเท่านั้นที่เป็นพาหะนำโรค ต้องการโปรตีนบางชนิดจากเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อผลิตไข่ เมื่อไข่ ฟักเป็นตัวอ่อน (larva) จะอาศัยบนพื้นดินและพัฒนา เป็นไอ้โม่ง (pupae) และโตเป็นตัวเต็มวัยตามลำดับ โดยปกติตัวเต็มวัยจะอาศัยตามพื้นดิน ในที่ มืด อากาศเย็น และมีความชื้น เช่น กองอิฐ กองหิน กองไม้ฟืน จอมปลวกเก่า รอยแตกของฝาผนังหรืออิฐ ตอไม้ผุ หรือตามพื้นดินที่มีใบไม้ปกคลุมในป่าทึบ และใกล้คอกปศุสัตว์่ ตัวริ้นฝอยทรายมีขนาด 2-3 ม.ม. ซึ่งเล็กกว่ายุง ประมาณ 1/3 เท่า ลำตัวจะมีขนปกคลุมจำนวนมาก มีปีก 1 คู่ แต่่ไมค่อยชอบบิน การเคลื่อนที่มักใช้การกระโดด (hopping) สูงจากพื้นดินไม่เกิน 1 เมตร นิสัยชอบออกหากินตอนพลบค่ำ และกลางคืนในรัศมีรอบ ๆ ที่อาศัย 200 - 300 เมตร มักจะนอกบ้านมากกว่าในบ้าน แต่ในบางกรณีริ้นฝอยทรายก็จะกัดในตอนกลางวันได้ หากมันอาศัยอยู่ภายในบ้านหรือในป่าทึบ สำหรับประเทศไทยยังมีข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายตัวของริ้นฝอยทรายน้อยมาก และไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ ที่พบริ้นฝอยทรายกับการเกิดโรคลิชมาเนียซิสได้ แต่ประเทศไทยมีรายงานการตรวจพบริ้นฝอยทรายชนิดที่สามารถเป็นพาหะนำโรค



การติดต่อ
             การติดต่อเริ่มขึ้นเมื่อริ้นฝอยทรายกัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือผู้ป่วยซึ่งเป็นแหล่งรังโรค และดูดเลือดที่มีเชื้อในระยะ amastigote เข้าไป จากนั้นเชื้อก็จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นระยะ promastigotes ภายในทางเดินอาหารของแมลง ระยะนี้ซึ่งถือเป็นระยะติดต่อของเชื้อ จากนั้นเชื้อมีการเพิ่มจำนวนและเคลื่อนที่ไปยังคอหอยและต่อมน้ำลายของแมลงเพื่อรอการแพร่เชื้อต่อไป โดยจะใช้เวลาเจริญเติบโตใน ตัวแมลงประมาณ 4-25 วัน พบว่าแมลงสามารถแพร่เชื้ออยู่ได้นาน 10 วัน ส่วนการติดเชื้อในคนส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อโดยบังเอิญ (Accidental host) เมื่อถูกริ้นฝอยทรายที่มีเชื้อระยะติดต่อกัด เชื้อระยะ promastigotes จะถูกเก็บกินโดยเม็ดเลือดขาวชนิด macrophages ซึ่งเป็นตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม จากนั้นเชื้อจะเปลี่ยนรูปไปเป็นระยะ amastigotes และเพิ่มจำนวนโดย การแบ่งตัว (binary fission) ในเม็ดเลือดขาวจนเซลแตก และถูกเก็บกินโดยเม็ดเลือดขาวเซลอื่นๆต่อไป จนแพร่กระจายไปยังอวัยวะในระบบ RES โดยการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาว



อาการและอาการแสดง
             ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคลิชมาเนียซิส มีลักษณะใกล้เคียงกับอาการของโรคอื่นหลายโรค เช่น มาลาเรีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคธาลัสซีเมีย โรคไขกระดูกฝ่อ โรคเลือดชนิดอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งอาการและอาการแสดงที่สำคัญได้แก่ ไข้เรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ (Intermittent fever) ซีด และอาจมีเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน (Pancytopenia; anemia, bleeding tendency) ท้องอืด ตับม้าม โต (Hepatosplenomegaly; abdominal distention) มีเหงื่อออกมาในเวลากลางคืน อาเจียน ท้องเสีย ไอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างมาก (Progressive weight loss; cachexia) ต่อมน้ำเหลืองโต (Lymphoadenophathy) ผิวหนังคล้ำ (Hyperpigmentation) และอ่อนแรงมากขึ้น (Fatique) ขนร่วง และเกิดรอยโรคที่ผิวหนัง

การวินิจฉัยและการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
1)  การเจาะตรวจไขกระดูก (Bone marrow aspiration and biopsy) เป็นวิธีการตรวจยืนยันที่ดีที่สุด โดยนำไขกระดูกมาย้อมสีด้วย Giemsa ซึ่งจะจำเพาะและช่วยแยกเชื้อ Leishmania spp. ออกจากเชื้อชนิดอื่น ๆ ได้ดี เช่น Histoplasma capsulatum และ Toxoplasma gondii นอกจากนี้ยังสามารถทำ biopsy จากม้าม และต่อมน้ำเหลืองเพื่อย้อมดูเชื้อในการเกิดโรคแบบ VL           2)  การตรวจทางซีรั่มวิทยา เช่น Direct agglutination test (DAT) Indirect fluorescent antibody technique (IFAT) และ ELISA
3)  การตรวจหาสารพันธุกรรม โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR)
4)  ทำการ smear และย้อมตรวจกรณีเกิดโรคแบบ CL และ ML

การป้องกันโรค
1)สวมใส่เสื้อผ้าอย่างรัดกุมมิดชิดขณะเข้าไปทำงาน หรือพักค้างคืนในพื้นที่ที่คาดว่า จะมีริ้นฝอยทรายอาศัยอยู่ เพราะริ้นฝอยทรายมีปากสั้นไม่สามารถกัดผ่านเสื้อผ้าได้
2) ทายากันแมลงในบริเวณผิวหนังที่อยู่่นอกร่มผ้า
3) นอนกางมุ้งที่ชุบด้วยยากันยุงและแมลง หรือใช้มุ้งที่มีขนาดรูตาข่ายเล็ก (< 156 รู ตาข่ายต่อ 1 ตารางนิ้ว) ซึ่งริ้นฝอยทรายไม่สามารถลอดผ่านได้
4) ฉีดยากันยุงและแมลงภายในบ้าน (ส่วนใหญ่จะเป็นยากลุ่ม pyrethroid)
5) ปรับปรุงดูแลบริเวณบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และทำให้ปลอดจากสัตว์จำพวกฟันแทะ เช่น หนู สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ
6) หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่พักอาศัย และให้สารกำจัดแมลงบนตัวสัตว์ตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์

การเฝ้าระวังโรคในพื้นที่
1) การเฝ้าระวังในคน เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการมีไข้เป็นๆ หาย ๆ ซีด ตับม้ามโต และน้ำหนักลด โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติเดินทางไปทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลาง หากการวินิจฉัยยังไม่แน่ชัด หรือ ให้การรักษาไปแล้วผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น ควรทำการเจาะตรวจไขกระดูกเพื่อตรวจโรคนี้
2) การเฝ้าระวังโรคในสัตว์ โดยปกติเมื่อสัตว์ติดเชื้อ Leishmania spp. มักจะไม่แสดงอาการ จึงต้องเฝ้าระวังโรคด้วยการตรวจทางซีรั่มวิทยา แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถตรวจได้อย่างต่อเนื่อง และมักจะเริ่มต้นทำเมื่อมีการรายงานการเกิดโรคในคน ในกรณีที่ผลเลือดในสัตว์ให้ผลบวก ต้องคัดแยกสัตว์ดังกล่าวออกจากฝูง ป้องกันไม่ให้สัตว์ถูกริ้นฝอยทรายกัด และทำการตรวจยืนยัน หากผลการตรวจพิสูจน์์ยืนยันชัดเจน ต้องทำลายสัตว์นั้นเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่่กระจายโรคต่อไป
3) การเฝ้าระวังในริ้นฝอยทราย ต้องมีการศึกษาสำรวจชนิดริ้นฝอยทรายที่กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมแมลงนำโรค และเมื่อมีการรายงานการเกิดโรคในคนในพื้นที่ใด ต้องสำรวจดักจับริ้นฝอยทรายในพื้นที่นั้น เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นริ้นฝอยทรายชนิดที่เป็นแมลงนำโรคหรือไม่ ข้อจำกัดคือ ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และมักจะเริ่มต้นทำเมื่อมีการรายงานการเกิดโรคในคน แต่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ที่พบริ้นฝอยทรายกับการเกิดโรคลิชมาเนียซีสได้ ตราบใดที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีเชื้อ Leishmania spp.ในริ้นฝอยทรายชนิดที่ตรวจพบในพื้นที่นั้นจริง

การควบคุมโรค
              นอกจากการให้การวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อจะได้รีบให้การรักษาที่จำเพาะหรือทำลายทิ้ง และลดโอกาสการเป็นแหล่งรังโรคทั้งของสั ตว์และคนตามลำดับ การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมหรือสัตว์ที่มีเชื้อ รวมไปถึงการสนับสนุนให้ประชาชนใช้มาตรการการป้องกันตนเองแล้ว การควบคุมแมลงนำโรค คือ ริ้นฝอยทราย ก็พิจารณาให้การควบคุมโรคเหมือนกับการควบคุมโรคที่นำโดยยุง เช่น การพ่นสารเคมีชนิดหมอกควัน หรือการพ่นสารเคมีกำจัดแมลงตามรังของริ้นฝอยทราย หรือที่พักเกาะของริ้นฝอยทราย

Helminths


Gnathostoma spinigerum


                Gnathostomiasis (หรือเรียกว่า Yangtze edema หรือ choko-fushu ในภาษาญี่ปุ่น, หรือไทยเรียกว่า โรคพยาธิตัวจี๊ด) เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิตัวกลม มีชื่อว่า Gnathostoma spp. เป็นโรคที่จัดอยู่ในพวก "cutaneous larva migrans" ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะพยาธิ์ตัวจี๊ดชนิด Gnathostoma spinigerum เท่านั้น ทั้งนี้เพราะพยาธิ์ตัวจี๊ดชนิดนี้เป็นตัวก่อโรคที่สำคัญในคนบริเวณแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะประเทศไทย

พยาธิมีรูปร่างลักษณะ

           ตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 1.5-3.0 ซม. มีลักษณะลำตัวกลมยาว หัวคล้ายลูกฟักทองทั้งหัวและตัวของพยาธิพวกนี้จะมีหนามตัวอ่อนของพยาธิในระยะติดต่อ มีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัยแต่มีหนามน้อยกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้มซึ่งฝังตัวอยู่ใน เนื้อของสัตว์พาหะ ส่วนพยาธิที่พบในคนจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ และมีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.9 ซม.



แหล่งระบาดของพยาธิและโรค

            ในประเทศไทยมีสัตว์ประมาณ 44 ชนิด ที่ตรวจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรคพยาธิตัวจี๊ดมีหลายชนิด รวมทั้งสุนัขและแมว การสำรวจปลาไหลในเขตจังหวัดภาคกลาง พบว่ามีการกระจายของพยาธิตัวจี๊ดอยู่หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี เป็นต้น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารหมักที่ทำจากปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ อาจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่เช่นกัน

วงจรชีวิตของพยาธิ

            ไข่ของพยาธิจะออกมาทางรูที่ติดต่อกับกระเพาะอาหารและออกไปกับอุจจาระของสัตว์เหล่านั้น  ไข่จะเจริญและฟักตัวออกมาเป็นพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 1 ในน้ำ    เมื่อกุ้งไร ซึ่งเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่หนึ่งมากินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป   ตัวออ่นพยาธิจะเจริญเติบโตต่อไปในตัวกุ้งไรต่อไปเป็นพยาธิตัวอ่อน ระยะที่สอง   เมื่อพวกสัตว์น้ำจืด เช่น ปลา กบ   สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู   สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่   ซึ่งจัดเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่สองมากินกุ้งไรเข้าไป ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สอง ก็จะเจริญต่อไปเป็นตัวอ่อนพยาธิ ระยะที่สาม ซึ่งระยะนี้ถือเป็นระยะติดต่อ ในตัวสัตว์เหล่านั้น โดยจะอาศัยอยู่ในกล้ามเนื้อและมีซิสท์หุ้มตัวอยู่ เมื่อโฮสท์ธรรมดาเช่น สุนัข  แมว มากินเข้าไป   ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สามก็จะออกจากซิสท์ ไชผ่านกระเพาะอาหารและผ่านตับอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แล้วในที่สุดจะไปเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ อาศัยอยู่ในบริเวณก้อนทูมของกกระเพาะอาหาร
           คนจัดเป็นโฮสท์บังเอิญ (Accidental host) กินเอาโฮสท์กลางลำดับที่สอง (สัตว์น้ำจืดเช่น ปลา กบ สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่) เข้าไปโดยบังเอิญ โดยทานอย่างดิบๆสุกๆ เช่น ส้มฟัก ปลาดุกย่าง   พยาธิตัวอ่อนลำดับที่สามก็จะออกจากซีสท์ แล้วเดินทางไปตามที่ต่างๆ แต่จะไม่อยู่ที่กระเพาะอาหาร เนื่องจากคนเป็นโฮสท์บังเอิญ ทำให้ตัวพยาธิตัวอ่อนระยะที่สามไม่เจริญเติบโตต่อไปเป็นพยาธิตัวแก่ และไม่ออกไข่



การติดต่อ
          โรคที่เกิดจากพยาธิตัวจี๊ดนี้ สามารถติดต่อได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยการกินตัวอ่อนระยะติดต่อที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกโดยเฉพาะปลาน้ำจืด หรืออาจติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยไชผ่านทางรก นอกจากนี้ พยาธิยังสามารถใชเข้าทางผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล โดยเฉพาะในคนบางกลุ่มที่ใช้เนื้อสัตว์สดๆ เช่น กบ ปลา พอกแผล เพื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น

อาการและพยาธิสภาพ
            ในคนซึ่งเป็นโฮสท์บังเอิญ พยาธิตัวอ่อนระยะที่สามจะไชเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆตามที่ต่างๆ เมื่อเคลื่อนที่ไปอยู่ที่ใดก็ทำให้เกิดมีปฏิกริยาที่ตำแหน่งนั้นๆเมื่อมาอยู่ใต้ผิวหนังจะเห็นได้ชัด คือตรงตำแหน่งที่มีพยาธิจะบวมแดงๆและรอบๆตัวพยาธิจะถูกห้อมล้อมด้วยเม็ดเลือดขวาชนิดอีโอซิโนฟิลเป็นจำนวนมาก   เมื่อพยาธิเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งอื่น ตำแหน่งเดิมที่เคยบวมจะค่อยๆยุบ และย้ายไปบวมในตำแหน่งที่พยาธิอยู่ใหม่ พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไปอยู่ได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย     เช่น ตา หู ปอดช่องท้อง สมอง ไขสันหลัง ในช่องท้องพยาธิจะทำให้เกิดก้อนทูม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อพังผืด และมีเม็ดเลือดขวาอีโอซิโนฟิลเป็นจำนวนมาก ก้อนทูมนี้จะเปลี่ยนตำแหน่งไปตามพยาธิ ในสมองและไขสันหลังพยาธิจะทำลายเนื้อเยื่อสมองจากการเคลื่อนตัวของพยาธิ และมีปฏิกริยาบวมขึ้นเช่นเดียวกันตรงตำแหน่งนั้น



ลักษณะทางคลีนิค
             ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พยาธิจะเดินทางไป ถ้าไปในอวัยวะที่สำคัญๆ ก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก   ถ้าอยู่ในที่ไม่สำคัญอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย
    อาการสำคัญที่ผิวหนังคือ   อาการบวมเคลืาอนที่ เช่นบวมที่มือ แล้วค่อยๆไปบวมที่แขน ไหล่ หน้าบวมในแต่ละแห่งเป็นอยู่นานประมาณ 3-10 วัน ลักษณะการบวมแดงๆ ตึง มีอาการปวดจื๊ด หรือคัน
    อาการทางตา พบว่าพยาธิอาจไชมาอยู่ที่บริเวณหนังตาหรือเข้าไปในลูกตา ถ้าอยู่ที่หนังตาจะทำให้ตาบวม อาจบวมมากจนตาปิดได้ แต่ถ้าพยาธิไชเข้าไปในลูกตา เช่นใน anterior chamber, vitreoushumour จะทำให้ลูกตาอักเสบ อาจถึงกับตาบอดได้
    อาการในช่องท้อง อาจพบก้อนทูมที่เปลี่ยนที่ได้ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายภาวะปวดท้องเฉียบพลันในท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ
    อาการทางปอด ถ้าพยาธิไชเข้าไปในทรวงอก จะมีน้ำหรือลมเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ ทำให้ไอมีเสมหะหรือเลือดปนได้ บางรายอาจไอจนตัวพยาธิหลุดออกมาได้
    อาการทางประสาท หากพยาธิไชเข้าไปในสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการอักเสบชนิดที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงในน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ คอแข็ง ปวดเสียวอย่างมากตามเส้นประสาท ง่วง ซึม หมดสติ หรือเป็นอัมพาต อาจถึงตายได้   พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไปในหู ทำให้เกิดอาการปวดหูอย่างมาก และอาจพบพยาธิไชออกมาทางรูหู นอกจากนี้ทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของสตรีก็พบตัวพยาธุ์ได้

การวินิจฉัยโรค
- ตรวจดูจากประวัติการรับประทานอาหาร
- ลักษณะอาการทางคลีนิค เช่น การปวดบวมแบบเคลื่อนที่ได้
- การตรวจเลือด มีปริมาณเม็ดเลือดขาว   และชนิดอีโอซิโนฟิลสูง
- การทดสอบทางผิวหนัง   ให้ผลบวก
- สามารถผ่าพบตัวพยาธิได้จากผิวหนัง ก้อนทูม เป็นต้น

การรักษา
           ยังไม่มีการรักษาใดๆ ได้ผลดีเท่ากับการผ่าเอาตัวออก โอกาสเช่นตอนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ผิวหนัง โดยการพ่นบริเวณนั้นด้วย Ethyl chloride ตรงตำแหน่งตัวพยาธิจะช่วยทำให้พยาธิชาหยุดเคลื่อนที่ชั่วคราวทำให้ช่วยในการผ่าเอาตัวพยาธิออกได้ง่ายขึ้นยังไม่มียาที่จะใช้ฆ่าหรือทำลายตัวพยาธิได้ ยาพวกเพรดนิโซโลน ช่วยบรรเทาอาการบวมและคันได้
           โอกาสหายขาดก็โดยการผ่าเอาตัวพยาธิออกข้างต้นแล้ว อาจเกิดจากการบังเอิญในช่วงการไอ  หรือตัวพยาธิไชออกมาทางรูหู หรือถูกขับออกมากับ ปัสสาวะในกรณีที่ไชมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ  หรือเนื่องจากพยาธิตายไปเอง

การป้องกัน
- ให้ประชาชนทราบถึงวงจรชีวิตของพยาธิ การติดต่อ และผลร้ายของโรค
- ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆ เช่นพวก ปลา ( ปลาดุก ปลาช่อน) กบ งู ไก่ เป็ด กุ้ง ปู หนู
   เป็นต้น 

ฺฺBacteria



 Shigella spp. 


           โรคบิดชิเกลล่า (shigellosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียใน Genus Shigella จัดอยู่ใน Family Enterobacteriaceae เป็นแบคทีเรียที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ชนิดแกรมลบ รูปท่อน ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต และไม่สร้างสปอร์
                เชื้อชิเกลล่าเป็นแบคทีเรียก่อโรคลำไส้ที่สำคัญ และรู้จักกันดีมาเป็นเวลานาน โดยในครั้งแรกเชื้อชิเกลล่าถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่เกิดโรค bacillary diarrhea (dysentery) มาตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 19 โดยเป็นสาเหตุให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระมีเลือดออก และไม่มีเลือด โดยปกติมักพบสาเหตุเริ่มมาจากการแพร่ทางน้ำ ส่วนใหญ่พบในอุจจาระ การติดเชื้อเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ จำนวนเชื้อที่กินเข้าไปเพียงเล็กน้อยประมาณ 200-1,000 ตัว ก็สามารถก่อโรคได้ ซึ่งต่างจากเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ที่ต้องใช้ปริมาณมากกว่า เชื้อสามารถเข้าไปแบ่งตัวและสามารถทำลายเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ เมื่อเซลล์ตายจะทำให้เกิดการอักเสบ เป็นหนอง และเกิดแผลในลำไส้

     สาเหตุ
              genus shigella ในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย 4 สายพันธ์ คือ subgroup A (shigella dysenteraie) แบ่งออกเป็น 12 type: , subgroup B (shigella flexneri)แบ่งออกเป็น 6 type และยังแบ่งย่อยออกเป็น subserotype 9 subserotype, subgroup C (shigella boydii) แบ่งออกเป็น 18 type และ subgroup D (shigella sonnnei) แบ่งออกเป็น 2 phase สำหรับ subgroup A, B และ C ยังแบ่งต่อไปอีก 40 serotypes โดยเขียนเรียงตามตัวเลขอารบิค ลักษณะจำเพาะของ plasmid มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรค

ระบาดวิทยาของโรค
              พบได้ทั่วโลก สองในสามของผู้ป่วยและผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยเฉพาะในระยะที่กำลังหย่านม การเจ็บป่วยในเด็กทารกอายุต่ำกว่า เดือนพบไม่บ่อยนัก การติดเชื้อภายในบ้านเดียวกันพบได้บ่อยมาก คือพบตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึง 40 การระบาดเกิดได้บ่อยในชุมชนแออัดและสุขาภิบาลไม่ดี เช่น คุก โรงเรียน ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก โรงพยาบาลโรคจิตประสาท ที่พักแรมที่อยู่แออัด เรือเดินทางข้ามประเทศ เขตชุกชุมของโรคนี้มีทั้งในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ผู้ป่วยที่ได้รับรายงานนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยของผู้ป่วยทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ตาม โดยปกติพบว่ามีการติดเชื้อมากกว่า 1 serotype ในชุมชน สามารถพบการติดเชื้อร่วมกับเชื้อตัวอื่น ๆ ที่ก่อโรคในลำไส้ เชื้อที่แยกได้ในประเทศกำลังพัฒนาคือ S. boydii, S. dysenteriae และ S.flexneri ในประเทศพัฒนาแล้ว พบเชื้อ S.sonnei บ่อยมากขณะที่ S.dyserteriae ไม่ค่อยพบ




การติดต่อ
             จากการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้เป็นพาหะ อาจเป็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแต่กินเชื้อเข้าไปจำนวน 10-100 ตัว ผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเป็นพวกที่ไม่ทำความสะอาดมือหลังจากถ่ายอุจจาระ การแพร่เชื้อโดยการสัมผัสทางตรงกับสิ่งของต่าง ๆ หรือสัมผัสทางอ้อมกับอาหาร ส่วนการแพร่เชื้อผ่านทางน้ำและอาหารโดย แมลงสาบ และแมลงวัน เกิดขึ้นได้จากสัตว์เหล่านี้นำเชื้อมาปนเปื้อน

ระยะฟักตัว
1-7 วัน ที่พบบ่อยคือ 1-3 วัน
ระยะติดต่อ
          ตั้งแต่ระยะติดเชื้อเฉียบพลันจนกระทั่งไม่พบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งอาจจะนานถึง 4 สัปดาห์หลังการเจ็บป่วย พวกพาหะที่ไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อได้ แต่โอกาสที่เชื้อจะอยู่นานเป็นหลาย ๆ เดือนนั้นมีน้อย




อาการและอาการแสดง
           ไข้สูง อาจเกิน 38.50C นำมาก่อน 2-3 วัน เด็กอาจมีอาการชักร่วมด้วยปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ในวันแรกๆ วันต่อมาถ่ายเป็นมูกปนเลือดเหนียวๆ ซึ่งจะแยกมูกเลือดออกจากเนื้ออุจจาระเห็นได้ชัดเจน อาการท้องเดินและถ่ายเป็นมูกเลือดเกิดเนื่องจากเชื้อผ่านเข้าสู่ผนังลำไส้ ไม่ได้เกิดจากท็อกซิน ปวดเบ่ง มีอาการเหมือนถ่ายไม่สุด ถ่ายกระปริดกระปรอย อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน


การวินิจฉัยโรค
           ทำได้โดยการแยกเชื้อจากอุจจาระหรือ rectal swab การดำเนินการทางห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้องกับสิ่งส่งตรวจและใช้อาหารเลี้ยงเชื้อหลายๆ ชนิด พบว่าสามารถเพิ่มการแยกเชื้อ Shigella ได้ การติดเชื้อมักเกิดร่วมกับการพบหนองในอุจจาระ

การรักษา
           การวินิจฉัยได้แต่แรกมีความสำคัญ การให้น้ำและสารเกลือแร่เพื่อชดเชย เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุด ยาปฏิชีวนะช่วยทำให้ระยะเวลาของการป่วยและการพบเชื้อในอุจจาระสั้นลง และควรเลือกใช้เฉพาะรายเมื่อมีเหตุผลสมควรในแง่ของความรุนแรงของการเจ็บป่วย หรือเพื่อป้องกันผู้สัมผัส เช่น ในศูนย์รับเลี้ยงเด็กหรือสถาบันต่าง ๆ ที่มีข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาพบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลาย ๆ ตัวได้บ่อย ดังนั้นการเลือกใช้ยาสำหรับเชื้อควรอาศัยผล antibiogram ของเชื้อที่แยกได้ หรือใช้ตาม antimicrobial susceptibility pattern ในท้องถิ่นนั้น และห้ามใช้ยาเพื่อลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
เมื่อเพาะเชื้อจากอุจจาระพบเชื้อ Shigella spp. ยาปฏิชีวนะที่ให้
ในเด็กให้
  Norfloxacin 20 มก./กก./วัน นาน 3 วันหรือ
  Cotrimoxazole (trimetroprim)10 มก./กก./วัน นาน 5 วัน
  Furazolidone 5-8 มก./กก/วัน นาน 5 วัน
ในผู้ใหญ่
  Norfloxacin 800 มก.ต่อวัน นาน 3-5 วันหรือ
  Ciprofloxacin 1,000 มก.ต่อวัน นาน 3 วัน
  Cotrimoxazole160/800 มกวันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน
การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย
การป้องกันและควบคุมโรค

การป้องกัน
1 สุขวิทยาส่วนบุคคลที่ถูกต้อง
ล้างมือฟอกสบู่ ภายหลังเข้าห้องน้ำ
ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยโรคบิดเข้าทำงานสัมผัสอาหาร
ระวังการแพร่เชื้อให้คนอื่น โดยถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
ล้างมือให้สะอาดก่อนเปิบข้าว และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
ควรแยกสำรับอาหารจากคนอื่น หรือถ้าจำเป็นต้องกินร่วมกับคนอื่น ควรใช้ช้อนกลาง
เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องใช้ส่วนตัว อย่าใช้ปะปนกับคนอื่น






Virus

 Influenza virus

 
            ไข้หวัดใหญ่ Influenza virus เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน

เชื้อที่เป็นสาเหตุ
Family Orthomyxoviridae 
Genus: Influenza 
ตัวเชื้อมีขนาด 80-120 nm 
ลักษณะเป็น filament Types: A, B, and C 





การจำแนกชนิดของเชื้ออาศัย antigen ซึ่งอยู่ที่เปลือก(virus envelope) และแกนกลาง ( nucleoprotein ) 
- Influenza A virus ทำให้เกิดโรคในคน สัตว์ปีก หมู ม้า สัตว์ทะเล แต่สัตว์ป่าจะเป็นพาหะของโรค
- Influenza B virus เกิดโรคเฉพาะในคน 
- Influenza C virus ทำให้เกิดโรคในคนและม้า แต่เป็นอย่างไม่หนัก 


Type: Influenza A 
           ไวรัสชนิดนี้จะเป็นสาเหตุของการระบาดในคน การระบาดของไข้หวัดนกทั่วโลกเกิดจากเชื้อตัวนี้ จะมี H antigen อยู่ 15 ชนิดคือ H1-H15 ส่วน N antigen มีอยู่ ชนิดคือ N1-N9  เมื่อเร็วๆนี้เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ H5, H7, and H9 
influenza Aจะพบในนกโดยที่นกจะไม่เป็นโรค influenza A ชนิด H5 and H7 จะทำให้เกิดการระบาดในสัตว์เลี้ยง 
นอกจากนั้น influenza A ยังทำให้เกิดโรคในม้า หมู ปลาวาฬ แมวน้ำ แมว เสือ 


การติดต่อ

เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
- ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก 
- สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ 
- สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค 




การระบาดของเชื้อโรค
            เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดได้แก่ Influenza A virus ซึ่งมีวิธีการระบาดได้สองวิธีคือ
- highly pathogenic avian influenza (HPAI) คือการระบาดชนิดรุนแรงซึ่งทำให้เกิดอัตราการตายสูงเกิดจากเชื้อ H5,H7 
- low-pathogenic avian influenza (LPAI) เป็นการระบาดอย่างไม่รุนแรง แต่อาจจะกลายพันธุ์เป็นเชื้อที่ระบาดรุนแรงก็ได้ 
การระบาดเชื่อว่าเกิดจากนกน้ำ หรือนกที่อพยพจากแหล่งอื่นที่เป็นภาหะของโรคนำเชื้อโรคมาที่ฟาร์ม 

การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของไวรัส
            ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด จะมีการกลายพันธุ์อยู่เสมอ และทำให้เกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่เป็นระยะๆ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกมีสองวิธีได้แก่
           -antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของไวรัสทำให้เกิดไวรัสพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยเจอจึงไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคนี้ ตัวอย่างการเกิดการกลายพันธุ์ทำให้ในแต่ละปีต้องคิดวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ 
          - antigenic shift คือการที่เชื้อไวรัสไขหวัดมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรม เมื่อเชื้อนั้นไปติดเชื้อสัตว์ ทำมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเชื้อไวรัสอย่างทันที ทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่คนไม่รู้จักและไม่เคยมีภูมิต่อเชื้อโรค เมื่อเชื้อระบาดเข้าสู่คน คนไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคจึงเกิดการระบาดไปทั่วโลก ดังเคยเกิดมาเมื่อปี 1918ที่ประเทศสเปน การเกิด antigenic shift มักจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว เช่น แมว หมู 


อาการของโรค

- ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน 
- ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน 
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ 
- ปวดศรีษะอย่างรุนแรง 
- ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา 
- ไข้สูง 39-40 องศา 
- เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล 
- ไอแห้งๆ ตาแดง 
- อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์ 
- สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว อาจจะพบว่ามีการอักเสบของ เยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ 
- อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ 
- ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวายโดยทั่วไปไข้ หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์ 



ระยะติดต่อ
             ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ 5 วันหลังจากมีอาการ ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน 



การวินิจฉัย                          
            การวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จะอาศัยระบาดวิทยาโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด และอาการของ ผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องทำการตรวจดังนี้
- นำเอาเสมหะจากจมูกหรือคอไปเพาะเชื้อไวรัส 
- เจาะเลือดผู้ป่วยหาภูมิ 2 ครั้งโดยครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน 
- การตรวจหา Antigen 
- การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent 

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
            ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ เช่นหัวใจวาย หรือหายใจวาย มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดบวม ฝีในปอด เชื้ออาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 


กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน 
ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด 
คนท้อง 
คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี 
ผู้ป่วยโรคเอดส์ 
ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา 

การรักษา

            ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้าน วิธีการดูแลมีดังนี้
- ให้นอนพักไม่ควรจะออกกำลังกาย 
- ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือดื่มน้ำผลไม้ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกินไปเพราะอาจจะขาดเกลือแร่ 
- รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลงให้รับประทาน paracetamol ไม่  แนะนำ   ให้ aspirinในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Reye      syndrome ถ้า   ไอมากก็รับประทานยาแก้ไอ แต่ในเด็กเล็กไม่ควรซื้อยารับประทาน 
- สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ 
  อย่าสั่งน้ำมูกแรงๆเพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม 
- ในช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธรณะ ลูกบิดประตู 
- เวลาไอหรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก 
- ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถามที่สาธารณะ 


การป้องกัน

- ล้างมือบ่อยๆ 
- อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา 
- อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น 
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย 
- ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย 
- เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก 




การฉีดวัคซีน
           การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี 
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ 
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 
- ผู้ป่วยโรคเอดส์ 
- หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 
- ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา 
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง 
- นักเรียนที่อยู่รวมกัน 
- ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 
- ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ 




การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา
             Amantadine and Ramantadine เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาไวรัสไๆข้หวัดใหญ่ชนิด A ไม่ครอบคลุมชนิด B Zanamivir Oseltamivir เป็นยาที่รักษาได้ทั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A,B